แนวข้อสอบ นักวิชาการภูมิสารสนเทศ กปภ

แนวข้อสอบความถนัดทางเชาว์ปัญญา ( Aptitude Test ) (100 ข้อ)

************

 

จงหาคำที่ไม่เข้าพวก

แต่ละข้อจะให้คำมา 5 คำ จากข้อ ก ข ค ง และ จ จากคำ 5 คำจะมีอยู่ 4 คำ ที่มีความหมายเป็นพวกเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน แต่จะมีคำหนึ่งที่แตกต่างออกไป ไม่เข้าพวกกับคำอื่น ให้ท่านเลือกคำที่ไม่เข้าพวก นี้เป็นคำตอบดังตัวอย่าง

1.             .  เปรี้ยว                 ข.  หวาน                          ค.  มัน              งเค็ม               จ.  ฉุน

ตอบ  จ.  ฉุน

วิเคราะห์

เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  ฉุน เป็นคำศัพท์ที่เกี่ยวกับอาหาร  เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  นั้น เป็นการรับรู้รสของอาหารโดยลิ้น ส่วน  ฉุน เป็นการรับรู้กลิ่นของอาหารโดยจมูก

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ. ฉุน 

2.             .  แตกกระจาย        ข.  แตกต่าง                   ค.  แตกแยก       ง.  แตกสลาย     จ.  แตกหัก

ตอบ  ข.  แตกต่าง 

วิเคราะห์   โจทย์ข้อนี้น่าสนใจ เราต้องมาดูความหมายของคำต่างๆ ก่อน

คำว่า แตกพจนานุกรมให้ความหมายไว้ดังนี้

แตก   ก. แยกออกจากส่วนรวม เช่น แก้วแตก ชามแตก,ทําให้แยกออกจากส่วนรวม เช่น แตกสามัคคี แตกหมู่คณะ;คุมหรือควบคุมไว้ไม่อยู่ เช่น แตกฝูง ไฟธาตุแตก ใจแตก ตบะแตก;ปะทุ เช่น ถ่านแตก; ผลิ เช่น แตกกิ่งก้าน แตกใบอ่อน แตกหน่อ;ไหลออกมาเอง เช่น เหงื่อแตก เยี่ยวแตก ขี้แตก;มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย, เช่น กําแพงแตก หน้าขนมแตก;เรียกผู้อ่านหนังสือออกคล่องว่า อ่านหนังสือแตก,เรียกเสียงห้าวเมื่อเริ่มเป็นหนุ่มว่า เสียงแตก,เรียกอาการที่พูดจนแสบคอหรือตะโกนดังจนสุดเสียงว่า พูดจนคอแตก ตะโกนจนคอแตก.

ความหมายของคำตอบในตัวเลือก

แตกกระจาย  ไม่มีความหมายในพจนานุกรม

แตกต่าง  ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน.

แตกแยก ก. แตกสามัคคี.

แตกสลาย ไม่มีความหมายในพจนานุกรม

แตกหัก ว. เด็ดขาดถึงที่สุดไม่ข้างใดก็ข้างหนึ่งเป็นได้รู้ดีกัน เช่น รบขั้นแตกหัก เจรจาขั้นแตกหักฉาดฉานถึงที่สุดไม่มีอะไรคลุมเครือ เช่น พูดแตกหัก.

จะเห็นได้ว่า แตกกระจาย  แตกแยก  แตกสลาย  แตกหัก ยังมีความหมายหลักๆ ในคำว่า แตกแยกออกจากส่วนรวม

ส่วน แตกต่าง ก. ไม่เหมือนกัน, ผิดกัน.นั้น ความหมายไม่เหมือนกับอีก 4 คำข้างต้น 

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ข. แตกต่าง

3.             .  ตัด                     ข.  เฉือน            ค.  แทง                                     ง.  หั่น               จ.  สับ

ตอบ  ค.  แทง       

วิเคราะห์

ตัด  เฉือน  หั่น  สับ  เป็นกริยาที่ใช้อุปกรณ์ เช่น มีด เป็นต้น กระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทิศทางบนสู่ล่าง และต้องการให้สิ่งนั้นแยกออกจากกัน

ส่วน แทงนั้น  ส่วนใหญ่ เป็นกริยาที่ใช้อุปกรณ์ เช่น มีด เป็นต้น กระทำต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระดับเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน แต่ไม่ต้องการให้สิ่งนั้นแยกออกจากกัน

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ค. แทง 

4.             .  ชก                            .  ต่อย                         ค.  ตบ                          ง.  ทุบ               จ.  เตะ

ตอบ  จ.  เตะ

วิเคราะห์

ชก  ต่อย  ตบ  ทุบ  เป็นกิริยาอาการที่ใช้มือกระทำ  ส่วน เตะ ต้องใช้เท้ากระทำ

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ จ. เตะ

5.             .  ข้าวเจ้า               ข.  ข้าวโพด        ค.  ข้าวฟ่าง                   ง.  ข้าวกล้อง      จ.  ข้าวสาลี

ตอบ  .  ข้าวกล้อง 

วิเคราะห์

ข้าวเจ้า ข้าวโพด  ข้าวฟ่าง  ข้าวสาลี เป็นชื่อของข้าวชนิดต่างๆ  ส่วน ข้าวกล้อง  พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้

น. ข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่, เดิมใช้วิธีใส่ครกตำเรียกว่า ข้าวซ้อม หรือ ข้าวซ้อมมือ.

จะเห็นว่า ข้าวกล้องนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากข้าวอีกทีหนึ่ง  

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ง. ข้าวกล้อง 

6.             .  ปลากริม                         ข.  ปลาจ่อม       ค.  ปลาเจ่า                    ง.  ปลาร้า             จ.  ปลาส้ม

ตอบ  .  ปลากริม 

วิเคราะห์

ปลาจ่อม  ปลาเจ่า  ปลาร้า  ปลาส้ม เป็นชื่ออาหารที่ทำจากปลา  ส่วน  ปลากริม  เป็นชื่อของขนม

ดังนั้น คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ก. ปลากริม 

7.             .  เก๋                      ข.  เก่ง              ค.  งาม                         ง.  สวย                         จ.  หล่อ

ตอบ  .  เก่ง

วิเคราะห์

เก๋  งาม  สวย   หล่อ เป็นคำวิเศษณ์ที่บรรยายในด้านร่างกาย ส่วน เก่ง พจนานุกรมให้ความหมายไว้ ดังนี้

ว. สามารถในทางใดทางหนึ่ง เช่น เก่งคํานวณ เรียนเก่ง, เป็นเช่นนั้นบ่อย ๆ, มักเป็นเช่นนั้น, เช่นเป็นหวัดเก่ง  หลับเก่งลืมเก่ง.

คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ข. เก่ง

8.             .  ครบครัน             ข.  สมบูรณ์        ค.  สุขใจ                       ง.  อุดม                         จ.  เหลือเฟือ

ตอบ   .  สุขใจ

วิเคราะห์

ครบครัน  สมบูรณ์  อุดม  เหลือเฟือ เป็นคำวิเศษณ์ที่ใช้บรรยายลักษณะทางกายภาพ  ส่วน สุขใจ เป็นคำที่บรรยายถึงสภาวะทางจิตใจว่า กำลังมีความสุข

คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ค. สุขใจ

9.             .  กระเจี๊ยบ            ข.  กระบุง          ค.  กระป๋อง                   ง.  กระเป๋า         จ.  กระโถน

ตอบ  .  กระเจี๊ยบ 

วิเคราะห์

กระบุง  กระป๋อง  กระเป๋า กระโถน เป็นของใช้  ส่วน กระเจี๊ยบ  เป็นพืช

คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ก. กระเจี๊ยบ

10.      .  หน้าเป็น                         ข.  หน้าเลือด     ค.  หน้าใหญ่                  ง.  หน้าร้อน       จ.  หน้าม้า

ตอบ  .  หน้าร้อน

วิเคราะห์   พจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า หน้าไว้ดังนี้

น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ;ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยาหน้าปกหนังสือ;เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่นกระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม;ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง,ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนังเช่น หน้ากลอง,ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน;ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น;ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า;คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว,ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน;โดยปริยายหมายถึงคนเช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน;เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้าไม่ไว้หน้า;ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า.

ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับหลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

หน้าเป็น  หน้าเลือด  หน้าใหญ่   หน้าม้า เป็นคำอธิบายพฤติกรรมของมนุษย์  ส่วน หน้าร้อน ใช้ในความหมายของ ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน;

 

คำตอบที่ถูกต้องก็คือ ข้อ ง. หน้าร้อน


ความลับการเป็นข้าราชการมาถึงมือท่านแล้ว



 แบบที่ 1 แบบปริ้นอ่านได้เลย ราคาเพียง 399 บาท
แบบที่ 2 แบบหนังสือ+MP3 ราคา 699 บาท
>รวบรวมจากผู้สอบติดอันดับต้นๆ เจาะข้อสอบเข้างานราชการ <<

>> 
(Book) สรุปสาระสำคัญ อ่านกระชับเวลา ไม่สับสน เข้าใจง่าย ออกชัวร์ๆ แม่นยำ <<
>> (New) รวบรวมจากรุ่นพี่ที่สอบได้อันดับต้นๆ+เจาะลึกตรงประเด็น เก็งข้อสอบ <<
>> (Pdf) แนวข้อสอบพร้อมเฉลย+เนื้อหาสรุปเรียบร้อย ประหยัดเวลาในการอ่าน
 << 
        

              แนวข้อสอบ  ความรู้เบื้องต้นของระบบภูมิสารสนเทศ  

1. ข้อใดคือความหมายของคำว่า  ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

.  กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์

.  กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่

.  กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่

.  ถูกทั้ง ข้อ ก. . และ ค.

ตอบ      .  ถูกทั้ง ข้อ ก. . และ ค.

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS)  หมายถึง  กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่  เช่น ที่อยู่  บ้านเลขที่  สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่  ตำแหน่ง  ข้อมูล  เส้นรุ้ง  เส้นแวง  และแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล  และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)  ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น  การแพร่ขยายของโรคระบาด  การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน  การบุกรุกทำลาย  การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่  ฯลฯ  ข้อมูลเหล่านี้เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมายใช้งานได้ง่าย

2. ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS คือข้อใด

.  การพิจารณาจากลักษณะของข้อมูล                       .  การพิจารณาจากลักษณะของทรัพยากร

.  การพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศ                    .  การพิจารณาจากลักษณะเชิงพื้นที่

ตอบ      .  การพิจารณาจากลักษณะของข้อมูล

ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Dat) ที่แสดงในรูปของภาพ (Graphic)  แผนที่ (Map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)  การเชื่อมโยงข้อมูลข้อมูลทั้งสองประเภทด้วยกันจะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน  เช่น  สามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ  หรือในทางตรงกันข้ามสามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของจุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา  ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดงภาพเพียงอย่างเดียว  โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น  เช่น  ใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว  แต่ในแผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์

3. ข้อมูลจาก MIS จะแสดงออกมาในลักษณะใด

.  แผนที่                                                                              .  ภาพ

.  ถูกทั้ง ข้อ ก. และ ข.                                                   .  ไม่มีข้อใดถูก

ตอบ      .  ภาพ              (ดูคำอธิบายข้อข้างต้น)

4. ข้อใดต่อไปนี้คือองค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

.  วัสดุอุปกรณ์                                                                  .  เงินลงทุน

.  ขั้นตอนการทำงาน                                                       .  ถูกทุกข้อ

ตอบ      .  ขั้นตอนการทำงาน

องค์ประกอบหลักของระบบ GIS จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware)  โปรแกรม (Software)  ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People)  โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้

1.  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น Digitizer,  Scanner,  Plotter,  Printer  หรืออื่นๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล  ประมวลผล  แสดงผล  และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน

2.  โปรแกรม (Software) คือ  ชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info,  MapInfo  ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นการทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่างๆ  สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล  จัดการระบบฐานข้อมูล  เรียกค้น  วิเคราะห์  และจำลองภาพ

3.  ขั้นตอนการทำงาน (Methods) คือ  วิธีการที่องค์กรนั้นๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งาน  โดยแต่ละ ระบบแต่ละองค์กรย่อมีความแตกต่างกันออกไป  ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้นๆ เอง

4.  ข้อมูล (Data) คือ  ข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแลจากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS  ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร

5. บุคลากร (People) คือ  ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล  ช่างเทคนิค  ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล  ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ  บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS  เนื่องจากถ้าขาดบุคลากรข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้นก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลยเพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน  อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS

 

5.องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คือข้อใด

.  โปรแกรม                                                                        .  ขั้นตอนการทำงาน

.  ข้อมูล                                                                              .  บุคลากร

ตอบ      .  บุคลากร     (ดูคำอธิบายข้อข้างต้น)

6.ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Features) แสดงข้อมูลลงบนแผนที่ด้วยวิธีใด

.  ตัวอักษร (Text)                                                            .  สี (Color)

.  สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ                                   .  สัญลักษณ์ (Symbol)

ตอบ      .  ตัวอักษร (Text)

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Features)

                ปรากฎการณ์ หรือ วัตถุต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเรา

                   สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

                   สภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น

แสดงลงบนแผนที่  ด้วย

                   จุด (Point)

                   เส้น (Line)

                   พื้นที่ (Area หรือ Polygon)

                   ตัวอักษร (Text)

อธิบายลักษณะสิ่งที่ปรากฎ  ด้วย

                   สี (Color)

                   สัญลักษณ์ (Symbol)

                   ข้อความบรรยาย (Annotation)

                   ที่ตั้ง (Location)

ลักษณะข้อมูลภูมิศาสตร์จะต้องแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และที่ตั้งสัมพันธ์ของสถานที่หรือสิ่งต่างๆ บนโลก

7.  โลกมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปของข้อมูลด้วยระบบ

      คอมพิวเตอร์  จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บนผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (Digital Form)

       โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า

.  Faeture                                                                           .  Feature

.  Feeture                                                                           .  Faature

ตอบ      .  Feature

 

ลักษณะข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

โลกมีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะเก็บข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโลกไว้ในรูปของข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์  จึงต้องเปลี่ยนปรากฏการณ์บนผิวโลกจัดเก็บในรูปของตัวเลขเชิงรหัส (Digital Form) โดยแทนปรากฏการณ์เหล่านั้นด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า  Feature

8.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ Feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น

    กี่กลุ่ม

.  1  กลุ่ม                                                                            .  2  กลุ่ม

.  3  กลุ่ม                                                                           .  4  กลุ่ม

ตอบ      .  3  กลุ่ม

ประเภทของ Feature

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นตัวแทนของปรากฏการณ์ทางภูมิศาสตร์บนโลกแผนที่กระดาษบันทึกตำแหน่งทางภูมิศาสตร์และแทนสิ่งต่างๆ บนโลกที่เป็นลายเส้นและพื้นที่ด้วยสัญลักษณ์แบบ จุด เส้น พื้นที่และตัวอักษร ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จะใช้ feature ประเภทต่างๆ ในการแทนปรากฏการณ์โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.             จุด (Point)

2.             เส้น (Arc)

3.             พื้นที่ (Polygon)

9.หน้าที่หลักๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์คือข้อใด

.  การนำเข้าข้อมูล                                                           .  การปรับแต่งข้อมูล

.  การบริหารข้อมูล                                                          .  ถูกทุกข้อ

ตอบ      .  ถูกทุกข้อ

หน้าที่ของ GIS (How GIS Works)

ภาระหน้าที่หลักๆ ของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์  ควรจะมีอยู่ด้วยกัน 5 อย่าง  ดังนี้

1.  การนำเข้าข้อมูล (Input)  ก่อนที่ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกใช้งานได้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจะต้องได้รับการแปลง ให้มาอยู่ในรูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข (digital format) เสียก่อน เช่น จากแผนที่กระดาษไปสู่ข้อมูลใน รูปแบบดิจิตอลหรือแฟ้มข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำเข้าเช่น Digitizer Scanner หรือ Keyboard เป็นต้น

2.  การปรับแต่งข้อมูล (Manipulation)  ข้อมูลที่ได้รับเข้าสู่ระบบบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับงาน เช่น ข้อมูลบางอย่างมีขนาด หรือสเกล (scale) ที่แตกต่างกัน หรือใช้ระบบพิกัดแผนที่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้รับการปรับให้อยู่ใน ระดับเดียวกันเสียก่อน

3.  การบริหารข้อมูล (Management)  ระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS จะถูกนำมาใช้ในการบริหารข้อมูลเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระบบ GIS DBMS ที่ได้รับการเชื่อถือและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดคือ DBMS แบบ Relational หรือระบบจัดการฐานข้อมูลแบบสัมพัทธ์ (DBMS) ซึ่งมีหลักการทำงานพื้นฐานดังนี้คือ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บ ในรูปของตารางหลาย ๆ ตาราง

4.  การเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล (Query and Analysis)  เมื่อระบบ GIS มีความพร้อมในเรื่องของข้อมูลแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การนำข้อมูลเหล่านี่มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ เช่น

– ใครคือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนที่ติดกับโรงเรียน ?

– เมืองสองเมืองนี้มีระยะห่างกันกี่กิโลเมตร ?

– ดินชนิดใดบ้างที่เหมาะสำหรับปลูกอ้อย ?

หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้ว

เลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น หรือ ต้องมีการสอบถามอย่างง่าย ๆ เช่น ชี้เมาส์ไปในบริเวณที่ต้องการแล้วเลือก (point and click) เพื่อสอบถามหรือเรียกค้นข้อมูล นอกจากนี้ระบบ GIS ยังมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์เชิงประมาณค่า (Proximity หรือ Buffer) การวิเคราะห์เชิงซ้อน (Overlay Analysis) เป็นต้น

5.  การนำเสนอข้อมูล (Visualization)  จากการดำเนินการเรียกค้นและวิเคราะห์ข้อมูล ผลลัพธ์ที่ได้จะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือตัวอักษร ซึ่งยากต่อการตีความหมายหรือทำความเข้าใจ การนำเสนอข้อมูลที่ดี เช่น การแสดงชาร์ต (chart) แบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ รูปภาพจากสถานที่จริง ภาพเคลื่อนไหว แผนที่ หรือแม้กระทั้งระบบมัลติมีเดียสื่อต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจความหมายและมองภาพของผลลัพธ์ที่กำลังนำเสนอได้ดียิ่งขึ้น อีก ทั้งเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ฟังอีกด้วย

10.ข้อใดคือข้อมูลค่าพิกัดของจุด (Point)

.  ค่าพิกัด  x,  y  1 คู่  แทนตำแหน่งของจุด

.  Vertex (ค่าพิกัด  x,  y  คู่หนึ่งบน arc) เป็นตัวกำหนดรูปร่างของ arc

.  arc ที่ตัดกันจะเชื่อมต่อกันที่ Node

.  arc หนึ่งเส้นเริ่มต้นและจบลงด้าน Node

ตอบ      .  ค่าพิกัด  x,  y  1 คู่  แทนตำแหน่งของจุด

จุด (Point)

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีตำแหน่งที่ตั้งเฉพาะเจาะจง  หรือมีเพียงอย่างเดียว  สามารถแทนได้ด้วยจุด (Point Feature)

                   หมุดหลักเขต

                   บ่อน้ำ

                   จุดชมวิว

                   จุดความสูง

                   อาคาร  ตึก  สิ่งก่อสร้าง

ข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตราส่วน

มาตราส่วนแผนที่จะเป็นตัวกำหนดว่าจะแทนปรากฏการณ์บนโลกด้วยจุดหรือไม่

ตัวอย่างลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจุด

ตัวอย่างเช่น   บนแผนที่โลกมาตราส่วนเล็กจะแทนค่าที่ตั้งของเมืองด้วยจุด  แม้ว่าในความเป็นจริงเมืองนั้นจะครอบคลุมพื้นที่จำนวนหนึ่งก็ตาม  ในขณะเดียวกันบนแผนที่มาตราส่วนที่ใหญ่ขึ้นเมืองดังกล่าวจะปรากฏเป็นพื้นที่และแต่ละอาคารจะถูกแทนค่าด้วยจุด

ข้อมูลค่าพิกัดของจุด

                   ค่าพิกัด  x,  y  1 คู่  แทนตำแหน่งของจุด

                   ไม่มีความยาวหรือพื้นที่

ใส่ความเห็น